พระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลม (1099-1291) ของ พระมหากษัตริย์เยรูซาเลม

ราชอาณาจักรเยรูซาเลมมีจุดเริ่มต้นมาจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โดยกอดฟรีย์แห่งบูยง แต่เขาปฏิเสธการสวมมงกุฎและตำแหน่งพระมหากษัตริย์ "ตามคำร้องขอของเขา เขาจะไม่สวมมงกุฎทองคำ ในขณะที่พระผู้ไถ่ต้องสวมมงกุฎหนาม"[2] เขาได้ใช้อิสริยยศ "แอดโวเคตุส ซังก์ตี เซปุลชรี" (Advocatus Sancti Sepulchri; ผู้พิทักษ์โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์) ในปีค.ศ. 1099 และสาบานตนเป็นประมุขแห่งเยรูซาเลมในโบสถ์พระคริสตสมภพที่เมืองเบธเลเฮม

ปีต่อมา กอดฟรีย์เสียชีวิต พี่ชายของเขาคือ บอลด์วินที่ 1 เป็นพระองค์แรกที่ใช้ตำแหน่ง "พระมหากษัตริย์" และเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ประกอบพิธีราชาภิเษกในโบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ในเมืองเยรูซาเลม

ตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งเยรูซาเลมเดิมมีลักษณะเลือกตั้งและมีการสืบสันตติวงศ์บางส่วน ในช่วงยุครุงเรืองของราชอาณาจักรในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีราชวงศ์และลำดับการสืบราชสันตติวงศ์เริ่มชัดเจนมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นกษัตริย์จะได้รับการเลือกตั้ง หรืออย่างน้อยต้องได้รับการยอมรับจากฮูตกูร์แห่งเยรูซาเลม ที่นี่กษัตริย์จะได้รับการพิจารณาว่าเป็น พรีมุส อินเตร์ ปาเรส (Primus inter pares; เป็นลำดับแรกท่ามกลางคนทั้งหลาย) และเมื่อกษัตริย์ไม่ทรงอยู่การปฏิบัติหน้าที่จะดำเนินการโดยผู้ดูแลระดับสูง (Seneschal)

พระราชวังถูกสร้่างตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ตั้งอยู่ทางใต้ของป้อมปราการเยรูซาเลม[3] ราชอาณาจักรเยรูซาเลมได้แนะนำโครงสร้างระบอบศักดินาแบบฝรั่งเศสให้แก่ชาวลิแวนต์ กษัตริย์จะทรงมีศักดินาที่ดินจำนวนมากรวมเข้าในฐานะแว่นแคว้นของกษัตริย์ซึ่งมีความผันแผรจากกษัตริย์องค์หนึ่งไปยังอีกองค์หนึ่ง กษัตริย์จะต้องทรงรับผิดชอบในการนำราชอาณาจักรเข้าสู่สมรภูมิรบ แม้ว่าหน้าที่นี้จะเป็นของพวกพลตระเวน

ในขณะที่หลายอาณาจักรในยุโรปช่วงนั้นกำลังเปลี่ยนผ่านสู่ราชาธิปไตยแบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง แต่กษัตริย์เยรูซาเลมสูญเสียพระราชอำนาจอย่างต่อเนื่องให้แก่เหล่าบารอน เหตุนี้เพราะส่วนใหญ่กษัตริย์หลายพระองค์มักจะมีพระชนมายุน้อย และมีความถี่ของการตั้งผู้สำเร็จราชการบ่อยครั้ง

หลังจากการล่มสลายของเมืองเยรูซาเลมในปีค.ศ. 1187 เมืองหลวงถูกย้ายไปยังเอเคอร์ และอยู่ที่นั่นจนถึงค.ศ. 1291 แต่พิธีราชาภิเษกมักจะถูกจัดที่ไทร์ ในช่วงนี้ตำแหน่งกษัตริย์เป็นเพียงตำแหน่งในนาม ซึ่งถูกกำหนดโดยเหล่ากษัตริย์ยุโรปที่ไม่เคยประทับในเอเคอร์ เมื่อคอนราดที่ 3 ได้เป็นพระมหากษัตริย์แต่ประทับอยู่ที่ทางตอนใต้ของเยอรมนี พระญาติฝ่ายพระราชบิดาของพระองค์ คือ อูก เคานท์แห่งเบรียง อ้างสิทธิเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรเยรูซาเลม และตั้งเขาเป็นผู้สืบทอดทางอ้อม การอ้างสิทธินี้เกิดขึ้นในปี 1264 ในฐานะผู้สืบเชื้อสายที่อาวุโสสูงสุดและเป็นทายาทผู้มีสิทธิอันชอบธรรมของอาลิกซ์แห่งช็องปาญ พระราชธิดาองค์ที่สองในสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม อูกเป็นพระโอรสในพระราชธิดาองค์โตของพระนางอาลิกซ์ แต่ถูกข้ามสิทธิโดยสภาฮูตกูร์ให้แก่พระญาติ คือ อูกแห่งแอนติออก ซึ่งในอนาคตคือ พระเจ้าอูกที่ 3 แห่งไซปรัส และอูกที่ 1 แห่งเยรูซาเลม

หลังจากพระเจ้าคอนราดที่ 3 ถูกประหารชีวิตโดยพระเจ้าการ์โลที่ 1 แห่งเนเปิลส์ในปีค.ศ. 1268 ตำแหน่งกษัตริย์กลายเป็นของราชวงศ์ลูซียง ซึ่งได้เป็นพระมหากษัตริย์ไซปรัสพร้อมกัน แต่พระเจ้าการ์โลที่ 1 ก็ใช้พระราชทรัพย์ซื้อสิทธิในบัลลังก์จากหนึ่งในผู้อ้างสิทธิในปีค.ศ. 1277

ในปีนั้น พระองค์ส่งโรเจอร์แห่งซานเซเวรีโนไปยังตะวันออกในฐานะผู้ดูแลที่ดิน โรเจอร์ยึดครองเมืองเอเคอร์และบังคับให้เหล่าบารอนสวามิภักดิ์ โรเจอร์ถูกเรียกตัวกลับในปี 1282 เนื่องด้วยเหตุการณ์สายัณห์ซิซิลี และปล่อยให้โอโด ปัวเลอเชียนดำเนินการแทน ทรัพยากรและอำนาจของเขามีน้อยและเขาถูกขับไล่โดยพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งไซปรัส เมื่อพระองค์เสด็จมาจากไซปรัสเพื่อประกอบราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เยรูซาเลม

เอเคอร์ถูกยึดครองโดยมัมลูก ในปี 1291 พวกครูเสดก็ถูกกำจัดออกจากแผ่นดินใหญ่

ราชวงศ์บูลอญ (ค.ศ. 1099-1118)

   ราชอาณาจักรเยรูซาเลม : Kingdom of Jerusalem   
(ค.ศ. 1099 - ค.ศ. 1118)

• ราชวงศ์บูลอญ •
พระปรมาภิไธยพระราชสมภพอภิเษกสมรสสวรรคต
1กอดฟรีย์แห่งบูยง
("ผู้พิทักษ์โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์")
(Godfrey of Bouillon)
โกเดอฟรอย
(Godefroy)
1099-1100
ราว ค.ศ. 1060
พระราชสมภพที่บูลอญ-ซูร์-แมร์ ฝรั่งเศส หรือ บราบันต์
โอรสในอูสเทซที่ 2 เคานท์แห่งบูลอญกับไอดาแห่งลอแรน
ไม่อภิเษกสมรส18 กรกฎาคม ค.ศ. 1100
พระชนมายุราว 40 พรรษา
2พระเจ้าบอล์ดวินที่ 1
(Baldwin I)
โบดวงที่ 1
(Baudouin I)
1100-1118
ราว ค.ศ. 1058
พระราชสมภพที่ลอแรน
โอรสในอูสเทซที่ 2 เคานท์แห่งบูลอญกับไอดาแห่งลอแรน
โกเดอฮิลด์ เดอ โทนี
ไม่มีโอรสธิดา

อาร์ดาแห่งอาร์เมเนีย
ค.ศ. 1097
ไม่มีโอรสธิดา

อเดลาเซีย เดล วาสโต
ค.ศ. 1112
ไม่มีโอรสธิดา
2 เมษายน ค.ศ. 1118
อาริช อียิปต์
พระชนมายุราว 60 พรรษา

ราชวงศ์เรเธล (ค.ศ. 1118-1153)

   ราชอาณาจักรเยรูซาเลม : Kingdom of Jerusalem   
(ค.ศ. 1118 - ค.ศ. 1153)

• ราชวงศ์เรเธล •
พระปรมาภิไธยพระราชสมภพอภิเษกสมรสสวรรคต
3พระเจ้าบอล์ดวินที่ 2
(Baldwin II)
โบดวงที่ 2
(Baudouin II)
1118-1131
ไม่ปรากฎ
พระราชสมภพที่ฝรั่งเศส
โอรสในอูกที่ 1 เคานท์แห่งเรเธลกับเมลีแซนเดอแห่งม็องต์แตร์รี
มอร์เฟียแห่งเมลีแตง
ค.ศ. 1101
พระราชธิดา 4 พระองค์
21 สิงหาคม ค.ศ. 1131
เยรูซาเลม
4สมเด็จพระราชินีนาถ
เมลิเซนเดอ

(Melisende)
1131-1153
ร่วมราชบัลลังก์กับฟูล์ค จนถึงปี 1143
ร่วมราชบัลลังก์กับบอลด์วินที่ 3 จนถึงปี 1153
ค.ศ. 1105
พระราชสมภพที่เยรูซาเลม
โอรสในพระเจ้าบอล์ดวินที่ 2กับมอร์เฟียแห่งเมลีแตง
ฟูล์คที่ 5 เคานท์แห่งอ็องฌู
2 มิถุนายน ค.ศ. 1129
พระราชโอรส 2 พระองค์
11 กันยายน ค.ศ. 1161
เยรูซาเลม
พระชนมายุราว 56 พรรษา

ราชวงศ์อ็องฌู (ค.ศ. 1153-1203)

ในปีค.ศ. 1127 ฟูล์คที่ 5 เคานท์แห่งอ็องฌูได้รับคณะทูตจากพระเจ้าบอลด์วินที่ 2 แห่งเยรูซาเลม พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 ไม่ทรงมีรัชทายาทชาย แต่ทรงกำหนดให้เจ้าหญิงเมลีแซนเดอ พระราชธิดาองค์โตเป็นผู้สืบราชบัลลังก์ พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 ทรงต้องการความปลอดภัยในการปกป้องมรดกที่พระราชธิดาจะได้รับ โดยมีพระราชประสงค์ให้เจ้าหญิงอภิเษกสมรสกับขุนนางผู้ทรงอำนาจ ฟูล์คเป็นนักรบครูเสดที่ร่ำรวยและเป็นผู้นำทางทหารที่มีประสบการณ์ อีกทั้งเป็นม่ายชายาถึงแก่กรรม ประสบการณ์ในสนามรบได้พิสูจน์ว่าเขาเป็นบุคคลที่มีค่าในรัฐชายแดนที่มักจะมีสงครามเช่นนี้

แต่ฟูล์คได้ยื่นข้อเสนอที่ดีกว่าในการเป็นแค่พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถ ก็คือตัวเขาต้องการเป็นพระมหากษัตริย์เคียงข้างราชบัลลังก์ของเมลีแซนเดอ พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 ทรงยอมรับข้อเสนออย่างไม่ขัดข้องเนื่องด้วยประสงค์จะใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ทางกองทัพของฟูล์ค ฟูล์คจึงสละตำแหน่งเคานท์แห่งอ็องชูให้แก่เจฟฟรีย์ โอรสของเขาที่เกิดจากชายาคนแรก และล่องเรือไปเพื่อรับตำแหน่งกษัตริย์แห่งเยรูซาเลมในอนาคต ซึ่งเขาเสกสมรสกับเจ้าหญิงเมลีแซนเดอในวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1129 หลังจากนั้นพระเจ้าบอลด์วินทรงสนับสนุนตำแหน่งของเจ้าหญิงเมลีแซนเดอในราชอาณาจักร โดยให้พระนางเป็นผู้ปกครองเพียงพระองค์เดียวของพระราชโอรสที่ประสูติจากฟูล์ค พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ในอนาคตประสูติในปี 1130

ฟูล์คและเมลีแซนเดอกลายเป็นพระประมุขร่วมแห่งเยรูซาเลมในปีค.ศ. 1131 หลังการสวรรคตของพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ในช่วงแรกพระเจ้าฟูล์คทรงเข้าควบคุมกิจการในราชอาณาจักรทั้งหมดและกีดกันสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอออกไป พระองค์ทรงโปรดเพื่อนร่วมชาติจากอ็องฌูมากกว่าขุนนางพื้นเมือง รัฐนักรบครูเสดทางตอนเหนือหวาดกลัวว่า พระเจ้าฟูล์คจะใช้พระราชอำนาจของอาณาจักรเยรูซาเลมเหนือดินแดนของพวกเขา ดังที่พระเจ้าบอลด์วินที่ 2 เคยทำไป แต่พระเจ้าฟูล์คมีพลังพระราชอำนาจน้อยกว่าพระสัสสุระมาก ทำให้รัฐทางตอนเหนือปฏิเสธอำนาจของพระองค์

ในเยรูซาเลมเอง พระเจ้าฟูล์คก็ไม่เป็นที่พอใจของเหล่าชาวเยรูซาเลมคริสต์รุ่นที่สองซึ่งเติบโตมากตั้งแต่สงครามครูเสดครั้งแรก "คนพื้นเมือง"เหล่านี้ชื่นชอบพระญาติของสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ คือ อูกที่ 2 แห่งจัฟฟา ผู้ซึ่งจงรักภักดีต่อสมเด็จพระราชินีนาถ พระเจ้าฟูล์คทรงมองอูกเป็นศัตรู และในปีค.ศ. 1134 พระองค์ต้องการกำจัดอูก โดยกล่าวหาว่าเขามีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ อูกก่อการจลาจลเพื่อประท้วงและหลบซ่อนตัวในดินแดนของเขาเองที่จัฟฟา อีกทั้งเป็นพันธมิตรกับมุสลิมที่อัสเคลอน เขาได้ชัยชนะต่อกองทัพของพระเจ้าฟูล์ค แต่ก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้ อัครบิดรแห่งเยรูซาเลมได้เข้ามาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ พระเจ้าฟูล์คทรงเห็นด้วยกับการสงบศึกและอูกต้องถูกเนรเทศออกจากราชอาณาจักรเป็นเวลาสามปี ซึ่งเป็นโทษสถานเบา

การสวรรคตของพระเจ้าฟูล์ค จากภาพประกอบหนังสือของวิลเลียมแห่งไทร์ "Historia and Old French Continuation" วาดที่เอเคอร์ ราวศตวรรษที่ 13 Bib. Nat. Française

แต่มีความพยายามในการลอบสังหารอูก พระเจ้าฟูล์คและผู้สนับสนุนพระองค์ถูกมองโดยทั่วไปว่าต้องมีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์นี้ แม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์คดีจริงๆ เรื่องอื้อฉาวเหล่านี้กลายเป็นประโยชน์แก่พรรคพระราชินีในการยึดอำนาจการปกครอง ซึ่งพระนางทรงก่อการรัฐประหารวังหลวง เบอร์นาร์ด แฮมิลตัน นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ได้เขียนว่า กลุ่มผู้สนับสนุนพระเจ้าฟูล์คต้อง "อยู่อย่างหวาดกลัวชีวิตภายในวัง" นักประวัติศาสตร์และนักเขียนร่วมสมัยอย่าง วิลเลียมแห่งไทร์ เขียนถึงฟูล์คว่า "พระองค์ไม่สามารถที่จะออกความคิดได้แม้แต่เรื่องที่เล็กๆน้อยๆโดยปราศจากความเห็นชอบ (ของเมลีแซนเดอ)" ผลก็คือสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอทรงควบคุมอำนาจของรัฐบาลโดยตรงอย่างไม่ต้องสงสัยตั้งแต่ค.ศ. 1136 เป็นต้นไป ก่อนปี 1136 พระเจ้าฟูล์คทรงไกล่เกลี่ยกับพระมเหสี และทำให้พระราชโอรสองค์ที่สองประสูติคือ เจ้าชายอามาลริค

ในปีค.ศ. 1143 ขณะที่พระมหากษัตริย์และสมเด็จพระราชินีนาถประทับพักผ่อนในเอเคอร์ พระเจ้าฟูล์คเสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุขณะล่าสัตว์ ม้าของพระองค์พลาดสะดุดและล้มลง และกะโหลกพระเศียรของพระองค์ถูกทับโดยอานม้า "มันสมองของพระองค์พุ่งออกมาจากหูทั้งสองข้างและรูจมูก" ตามคำบรรยายของวิลเลียมแห่งไทร์ พระวรกายของพระองค์ถูกนำกับมายังเอเคอร์ ทรงหมดสติไปสามวันและสวรรคต พระบรมศพถูกฝังที่โบสถ์พระคูหาศักดิ์สิทธิ์ในเยรูซาเลม แม้ว่าชีวิตสมรสจะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง สมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอทรงเสียพระทัยต่อการจากไปของพระเจ้าฟูล์คทั้งแสดงออกในที่สาธารณะและการส่วนพระองค์ พระเจ้าฟูล์คมีพระราชโอรสสามคน คือ เจฟฟรีย์ที่ประสูติจากชายาคนแรก และเจ้าชายบอลด์วินกับเจ้าชายอามาลริคที่ประสูติแต่พระนางเมลีแซนเดอ

พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นประมุขร่วมกับพระราชชนนี ในปีค.ศ. 1143 การครองราชย์ช่วงต้นรัชกาลของพระองค์เป็นการทะเลาะขัดแย้งกับพระราชชนนีอย่างรุนแรงในเรื่องสิทธิในการครอบครองเยรูซาเลม จนกระทั่งค.ศ. 1153 เมื่อพระองค์สามารถยึดครองอำนาจของรัฐบาลภายใต้พระองค์เอง สมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอสละราชบัลลังก์ พระองค์กับพระราชชนนีก็ไกล่เกลี่ยกันภายหลัง พระราชชนนีเมลีแซนเดอสวรรคตในปีค.ศ. 1161 ส่วนพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 สวรรคตในปีค.ศ. 1163 โดยไร้รัชทายาท ราชอาณาจักรสืบทอดไปยังพระราชอนุชา ครองราชย์เป็น พระเจ้าอามาลริคที่ 1 แม้ว่าจะมีความขัดแย้งในหมู่ขุนนางกับพระมเหสีในพระเจ้าอามาลริค คือ อานแย็สแห่งกูร์เตอแน แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะยอมรับการสมรสนี้ในปีค.ศ. 1157 ในช่วงที่พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 ยังคงสามารถสืบทายาทได้ แต่ในช่วงนี้สภาฮูตกูร์ปฏิเสธที่จะยอมรับอามาลริคเป็นกษัตริย์ จนกว่าพระองค์จะยอมหย่าขาดจากพระราชินีอานแย็ส ความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระราชินีอานแย็สนั้นต้องยอมรับว่าอาจกล่าวเกินจริงโดยนักพงศาวดารร่วมสมัยอย่าง วิลเลียมแห่งไทร์ ซึ่งอคติจากการที่พระราชินีอานแย็สกีดกันไม่ให้เขารับตำแหน่งอัครบิดรแห่งเยรูซาเลมในช่วงทศวรรษต่อมา และผู้สืบทอดงานของวิลเลียม คือ เออร์โนลด์ ได้กล่าวถึงบุคลิกของพระนางในด้านศีลธรรมว่า "ไม่ควรมีพระราชินีเช่นนี้ในเมืองอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเยรูซาเลม" ("car telle n'est que roine doie iestre di si haute cite comme de Jherusalem")

แต่อย่างไรก็ตาม ข้อหาความสัมพันธ์ร่วมวงศ์ตระกูลเดียวกันก็เพียงพอแล้วสำหรับฝ่ายที่จะโค่นพระนางออกจากตำแหน่งราชินี พระเจ้าอามาลริคทรงเห็นด้วยและขึ้นสืบราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการโดยปราศจากพระราชินี แต่อานแย็สยังครองตำแหน่งเคานท์เตสแห่งจัฟฟาและอัสเคลอน และได้รับเงินรายได้จากศักดินาที่ดิน คริสตจักรตัดสินว่าทายาทของพระเจ้าอามาลริคกับอดีตพระราชินีอานแย็สนั้นเป็นทายาทที่ชอบโดยกฎหมาย และยังคงลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ดังเดิม ต่อมาพระโอรสธิดาของอานแย็สจะมีอำนาจสูงในเยรูซาเลมเป็นเวลาเกือบ 20 ปี พระเจ้าอามาลริคสวรรคตและสืบบัลลังก์โดยพระโอรสที่ประสูติแต่อานแย็ส คือ พระเจ้าบอลด์วินที่ 4

การอภิเษกสมรสของพระเจ้าอามาลริคที่ 1 กับมาเรีย โคมเนเนที่ไทร์

อานแย็สแห่งกูร์เตอแนสมรสใหม่กับเรย์นัลด์แห่งซีดง และสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรีย โคมเนเนเสกสมรสกับเบเลียนแห่งอีเบลิน ในปีค.ศ. 1177 พระราชธิดาของพระเจ้าอามาลริคที่ประสูติแต่อานแย็ส คือ เจ้าหญิงซีบิลลา มีความพร้อมด้านพระชันษา และพร้อมมีทายาท และมีสถานะที่มั่นคงในการสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระอนุชา แต่พระราชธิดาของพระเจ้าอามาลริคที่ประสูติแต่พระพันปีหลวงมาเรีย คือ เจ้าหญิงอิซาเบลลา ทรงได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวของพระบิดาเลี้ยง คือ พวกตระกูลอีเบลิน

ในปีค.ศ. 1179 พระเจ้าบอลด์วินที่ 4 เริ่มต้นวางแผนให้เจ้าหญิงซีบิลลาเสกสมรสกับอูกที่ 3 ดยุกแห่งบูร์กอญ หลังจากพระสวามีองค์แรกของเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ แต่ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1180 แผนนี้ก็ไม่ได้ดำเนินการ เรย์มอนด์ที่ 3 เคานท์แห่งตริโปลีพยายามก่อการรัฐประหาร โดยระดมพลในเยรูซาเลมร่วมกับโบฮีมอนด์ที่ 3 แห่งแอนติออก ในการบีบบังคับให้กษัตริย์จัดการเสกสมรสของพระเชษฐภคินีกับขุนนางท้องถิ่นที่เขาเลือก อาจจะเป็น บอลด์วินแห่งอีเบลิน พี่ชายของเบเลียน เพื่อต่อต้านแผนการนี้ กษัตริย์ทรงรีบจัดงานเสกสมรสของพระขนิษฐากับกีแห่งลูซียง น้องชายของอามาลริค กรมวังของราชอาณาจักร การจับคู่กับชาวต่างชาติเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถนำความช่วยเหลือทางทหารจากภายนอกเข้ามาในราชอาณาจักรได้ เมื่อพระเจ้าฟีลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสยังทรงพระเยาว์ สถานะของกีคือเป็นขุนนางของกษัตริย์ฝรั่งเศส และพระญาติของเจ้าหญิงซีบิลลาคือ พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ซึ่งเป็นหนี้ในการแสวงบุญของสมเด็จพระสันตะปาปา พันธมิตรทั้งสองนี้จำเป็นสำหรับเยรูซาเลม

วิลเลียมแห่งไทร์ค้นพบอาการโรคเรื้อนของบอลด์วินที่ 4 ครั้งแรก จากหนังสือ L'Estoire d'Eracles ฉบับภาษาฝรั่งเศส วาดในฝรั่งเศสทศวรรษที่ 1250

ในปีค.ศ. 1182 พระเจ้าบอลด์วินที่ 4 ก็เริ่มทรงทุพพลภาพมากขึ้น จากพระอาการโรคเรื้อน พระองค์ทรงแต่งตั้งกีเป็น บาอิลลี เรย์มอนด์ต่อต้านเรื่องนี้ แต่เมื่อกีไม่เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์บอลด์วินอีกต่อไปแล้ว ในปีถัดมาเรย์มอนด์ได้รัยการแต่งตั้งเป็นบาอิลลีใหม่อีกครั้ง และได้รับสิทธิในการครอบครองเบรุต พระเจ้าบอลด์วินหันมาทำข้อตกลงกับเรย์มอนด์และสภาฮุตกูร์ ให้บอลด์วินแห่งมงแฟรา พระโอรสของเจ้าหญิงซีบิลลาที่ประสูติแต่พระสวามีองค์แรก ให้มีสิทธิสืบบัลลังก์ก่อนซีบิลลาและกี บอลด์วินองค์น้อยได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ร่วมของพระมาตุลาในปีค.ศ. 1183 ในพระราชพิธีมีเรย์มอนด์เป็นประธาน เป็นที่ตกลงว่าหากยุวกษัตริย์สวรรคตในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ คณะผู้สำเร็จราชการจะเปลี่ยนผ่านไปยัง "ทายาทผู้มีความชอบธรรมที่สุด" และต่อจากนั้นคือเหล่าญาติวงศ์ ได้แก่ กษัตริย์แห่งอังกฤษและฝรั่งเศส และจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาจะสามารถตัดสินชี้ระหว่างสิทธิของซีบิลลาและสิทธิของอิซาเบลลา "ทายาทผู้มีความชอบธรรมที่สุด" เหล่านี้จะไม่ถูกเสนอชื่อ

พระเจ้าบอลด์วินที่ 4 สวรรคตในฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. 1185 และพระนัดดาขึ้นสืบบัลลังก์ เรย์มอนด์ได้เป็นบาอิลลี แต่เขาส่งผ่านการเป็นผู้ปกครองของพระเจ้าบอลด์วินที่ 5 ไปยังจอสแลงที่ 3 เคานท์แห่งอีเดสซา อาฝ่ายแม่ของเขา โดยอ้างว่าเขาไม่ต้องการให้แก่ข้อกังขาเมื่อยุวกษัตริย์ที่ดูเหมือนอ่อนแอนั้นสวรรคตขึ้นมา พระเจ้าบอลด์วินที่ 5 สวรรคตในฤดูร้อน ค.ศ. 1186 ที่เอเคอร์ ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสนใจในพระราชพินัยกรรมของพระเจ้าบอลด์วินที่ 4

หลังจากพระราชพิธีพระศพ จอสแลงตั้งให้เจ้าหญิงซีบิลลาเป็นผู้สืบสันตติวงศ์ของพระอนุชา แต่พระนางต้องยินยอมที่จะหย่าขาดจากกี เช่นเดียวกับที่พระราชชนกของพระนางหย่าขาดจากพระราชชนนี ด้วยการรับประกันว่าพระนางจะได้รับอนุญาตให้เลือกพระสวามีองค์ใหม่ ในวันราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถซีบิลลาทรงสวมมงกุฎให้กับกีทันที ในขณะที่เรย์มอนด์ก็เดินทางไปยังนาบลัสซึ่งเป็นที่พำนักของเบเลียนและสมเด็จพระพันปีหลวงมาเรีย และทำการเรียกประชุมขุนนางที่จงรักภักดีต่อเจ้าหญิงอิซาเบลลาและตระกูลอีเบลิน เรย์มอนด์ต้องการให้เจ้าหญิงอิซาเบลลากับอ็องฟรอยที่ 4 แห่งโตรอน พระสวามีของพระนางสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์ แต่อ็องฟรอยมีบิดาเลี้ยงคือ เรย์นัลด์แห่งชาตียง นั้นเป็นพันธมิตรของกี อ็องฟรอยจึงละทิ้งเรย์มอนด์และหันไปถวายความจงรักภักดีต่อซีบิลลาและกี

   ราชอาณาจักรเยรูซาเลม : Kingdom of Jerusalem   
(ค.ศ. 1153 - ค.ศ. 1205)

• ราชวงศ์อ็องฌู •
พระปรมาภิไธยพระราชสมภพอภิเษกสมรสสวรรคต
5พระเจ้าฟูล์ค
(Fulk)
ฟลูเกต์
(Foulques)
1131-1143
ร่วมราชบัลลังก์กับเมลีแซนเดอ
ค.ศ. 1089/1092
พระราชสมภพที่อ็องเฌ ฝรั่งเศส
โอรสในฟูล์คที่ 4 เคานท์แห่งอ็องฌูกับแบร์ตาร์ด เดอ มงฟอร์ต
เออร์เมนการ์ด เคานท์เตสแห่งเมน
ค.ศ. 1109
พระโอรสธิดา 4 พระองค์

สมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอแห่งเยรูซาเลม
2 มิถุนายน ค.ศ. 1129
พระราชโอรส 2 พระองค์
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1143
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 52 พรรษา
6พระเจ้าบอลด์วินที่ 3
(Baldwin III)
โบดวงที่ 3
(Baudouin III)
1143-1163
ร่วมราชบัลลังก์กับเมลีแซนเดอ จนถึงปี 1153
ค.ศ. 1130
โอรสในพระเจ้าฟูล์คกับสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ
ธีโอโดรา โคมเนเน
ค.ศ. 1158
ไม่มีพระราชโอรสธิดา
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1163
เบรุต ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 33 พรรษา
7พระเจ้าอามาลริค
(Amalric)
อามอรี
(Amaury)
1163-1174
ค.ศ. 1136
โอรสในพระเจ้าฟูล์คกับสมเด็จพระราชินีนาถเมลีแซนเดอ
อานแย็สแห่งกูร์เตอแน
ค.ศ. 1157
มีพระราชโอรสธิดา 3 พระองค์

มาเรีย โคมเนเน
29 สิงหาคม ค.ศ. 1167
พระราชธิดา 2 พระองค์
11 กรกฎาคม ค.ศ. 1174
เยรูซาเลม ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 38 พรรษา
8พระเจ้าบอลด์วินที่ 4
กษัตริย์เรื้อน
(Baldwin IV the Leprous)
โบดวงที่ 4
(Baudouin IV)
1174-1185
ร่วมราชบัลลังก์กับบอลด์วินที่ 5 ตั้งแต่ปี 1183
ค.ศ. 1161
เยรูซาเลม
โอรสในพระเจ้าอามาลริคกับอานแย็สแห่งกูร์เตอแน
ไม่อภิเษกสมรส16 มีนาคม ค.ศ. 1185
เยรูซาเลม ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 24 พรรษา
9พระเจ้าบอลด์วินที่ 5
(Baldwin V)
โบดวงที่ 5
(Baudouin V)
1183-1186
ร่วมราชบัลลังก์กับบอลด์วินที่ 4 จนถึงปี 1185
ค.ศ. 1177
โอรสในวิลเลียมแห่งมงแฟรากับสมเด็จพระราชินีนาถซีบิลลาแห่งเยรูซาเลม
ไม่อภิเษกสมรสสิงหาคม ค.ศ. 1186
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 9 พรรษา
10สมเด็จพระราชินีนาถ
ซีบิลลา

(Sibylla)
ซีบิลล์
(Sibylle)
1186-1190
ร่วมราชบัลลังก์กับกี
ราวค.ศ. 1157
ธิดาในพระเจ้าอามาลริคกับอานแย็สแห่งกูร์เตอแน
วิลเลียมแห่งมงแฟรา เคานท์แห่งจัฟฟาและอัสเคลอน
ค.ศ.1176
พระราชโอรส 1 พระองค์

กีแห่งลูซียง
เมษายน ค.ศ. 1180
พระราชธิดา 2 พระองค์
25 มกราคม (คาดว่า) ค.ศ. 1190
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 40 พรรษา
11กีแห่งลูซียง
พระเจ้ากี
(Guy of Lusignan)
กี เดอ ลูซียง
(Guy de Lusignan)
1186-1190/1192
ร่วมราชบัลลังก์กับซีบิลลา จนถึงปี 1190
ราวค.ศ. 1150 หรือ 1159/1160
โอรสในอูกที่ 8 แห่งลูซียงกับบรูกอญ เดอ ราญกง
สมเด็จพระราชินีนาถซีบิลลาแห่งเยรูซาเลม
เมษายน ค.ศ.1180
พระราชธิดา 2 พระองค์
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1194
นิโคเซีย ไซปรัส
พระชนมายุราว 45 พรรษา
12สมเด็จพระราชินีนาถ
อิซาเบลลาที่ 1

(Isabella I)
อีซาเบลที่ 1
(Isabelle I)
1190/1192-1205
ร่วมราชบัลลังก์กับคอนราด จนถึงปีค.ศ. 1192
ร่วมราชบัลลังก์กับอ็องรีที่ 1 ค.ศ. 1192-1197
ร่วมราชบัลลังก์กับอามาลริคที่ 2 ตั้งแต่ ค.ศ. 1197
ราวค.ศ. 1172
นาบลัส ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
ธิดาในพระเจ้าอามาลริคกับมาเรีย โคมเนเน
อ็องฟรอยที่ 4 แห่งโตรอน
พฤศจิกายน ค.ศ.1183
ไม่มีพระโอรสธิดา

คอนราดแห่งมงแฟรา
24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1190
พระราชธิดา 1 พระองค์

อ็องรีที่ 2 เคานท์แห่งช็องปาญ
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1192
พระราชธิดา 2 พระองค์

อามาลริคแห่งลูซียง
มกราคม ค.ศ. 1198
พระราชธิดา 3 พระองค์
5 เมษายน ค.ศ. 1205
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 33 พรรษา
13คอนราดแห่งมงแฟรา
พระเจ้าคอนราดที่ 1
(Conrad of Montferrat)
1190/1192-1192
ร่วมราชบัลลังก์กับ
อิซาเบลลาที่ 1
กลางทศวรรษที่ 1140
มงแฟรา จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
โอรสในวิลเลียมที่ 5 มาร์เควสแห่งมงแฟรากับจูดิธแห่งบาเบ็นแบร์ก
ไม่ปรากฎนาม
ก่อนค.ศ. 1179
ไม่มีโอรสธิดา

ธีโอโดรา แองเจลินา
ค.ศ. 1186/1187
ไม่มีโอรสธิดา

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม
24 พฤศจิกายน ค.ศ.1180
พระราชธิดา 1 พระองค์
28 เมษายน ค.ศ. 1192
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 40 พรรษา
14อ็องรีที่ 2 เคานท์แห่งช็องปาญ
พระเจ้าอ็องรีที่ 1
(Henry II of Champagne; Henry I)
1192-1197
ร่วมราชบัลลังก์กับ
อิซาเบลลาที่ 1
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1166
ช็องปาญ
โอรสในอ็องรีที่ 1 เคานท์แห่งช็องปาญกับมารีแห่งฝรั่งเศส
สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม
6 พฤษภาคม ค.ศ.1192
พระราชธิดา 2 พระองค์
10 กันยายน ค.ศ. 1197
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 31 พรรษา
15อามาลริคแห่งลูซียง
พระเจ้าอามาลริคที่ 2
(Amalric of Lusignan; Amalric II)
อามอรี เดอ ลูซียง
(Amaury de Lusignan)
1198-1205
ร่วมราชบัลลังก์กับ
อิซาเบลลาที่ 1
ค.ศ. 1145
โอรสในอูกที่ 8 แห่งลูซียงกับบรูกอญ เดอ ราญกง
เอสเชวาแห่งอีเบอลิน
ก่อน 29 ตุลาคม ค.ศ. 1114
พระโอรสธิดา 6 พระองค์

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งเยรูซาเลม
มกราคม ค.ศ.1198
พระราชธิดา 3 พระองค์
1 เมษายน ค.ศ. 1205
เอเคอร์ ราชอาณาจักรเยรูซาเลม
พระชนมายุราว 60 พรรษา

ใกล้เคียง

พระมหากษัตริย์ไทย พระมหาโมคคัลลานะ พระมหามณเฑียร พระมหาธรรมราชาที่ 1 พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร พระมหากัสสปะ พระมหาวีรกษัตรีย์นโรดม มุนีนาถ สีหนุ พระวรราชมารดา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี พระมหากษัตริย์กัมพูชา พระมหาชนก